รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ ในรูปแบบแก๊งค์ Call Center
-
Post 16/12/2024
ปัจจุบันมิจฉาชีพมีมากมายหลากหลายรูปแบบ ในบางครั้งผู้เสียหายอาจรู้ไม่เท่าทันกลโกงจนอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้นได้ หลายต่อหลายครั้งที่เรามักเลือกที่จะไม่รับสายเบอร์แปลกๆ หรือไม่คุ้นชิน หรือแม้กระทั้งตัดสายทิ้ง โดยความเข้าใจว่าเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งหากสายดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพก็ไม่เป็นอะไร แต่หากสายเหล่านั้นเป็นสายที่ติดต่อมาในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรา ก็ย่อมส่งผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้
บทความนี้ ทางเราจึงได้รวบรวมกลโกงมิจฉาชีพเบื้องต้นมาให้ดังต่อไปนี้
1. แอบอ้างว่ามีพัสดุตกหล่น หรือพัสดุตกค้าง หรือมีสิ่งของผิดกฎหมาย หรือหนังสือเดินทาง (Passport)
โดยมิจฉาชีพจะทำทีสอบถามว่าเราได้มีการส่งพัสดุไปที่นั่นที่นี่หรือไม่ ส่งไปให้นายคนนั้น คนนี้หรือไม่ แล้วนายคนนั้นได้ถูกจับหรือควบคุมตัวไว้แล้ว พร้อมทั้งบอกว่าพัสดุนั้นเป็นของผิดกฎหมาย และให้เราแสดงความบริสุทธิ์ใจ โดยให้เราแจ้งความออนไลน์ ทางมิจฉาชีพที่โทรมาจะประสานงานให้
วิธีรับมือ : ไม่ต้องถามอะไรมาก แต่ให้ถามว่าจะให้ไปแจ้งความที่ สน. หรือ สภอ. ไหน แค่นั้นแทน และบอกว่าสะดวกที่จะไปแจ้งความที่นั่น แล้ววางสาย เนื่องด้วยตามกระบวนการทางกฎหมายแล้วจะไม่มีการรับแจ้งความออนไลน์ หรือรับแจ้งความทางโทรศัพท์แต่อย่างใด
2. แอบอ้างว่ามียอดค่าโทรศัพท์ในเบอร์ที่เราไม่ได้เปิดบริการ
โดยมิจฉาชีพ จะสอบถามว่าเราได้มีการเปิดเบอร์มือถือในเบอร์นั้นเบอร์นี้หรือไม่ เพราะมียอดค้างที่ไม่ได้รับการชำระ โดยให้เราชำระค่าบริการในเบอร์ดังกล่าว หากเราปฏิเสธการชำระเงินก็จะบอกว่าเบอร์มือถือที่เราใช้งานอยู่อาจถูกระงับการใช้งานไปด้วย ขณะเดียวกันหากเรายืนยันว่าไม่ได้เปิดเบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพก็จะบอกให้เราแจ้งความโดยจะประสานงานให้เช่นเดิม
วิธีรับมือ : ปฏิเสธการชำระได้เลย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนระงับเบอร์ที่ใช้งานปัจจุบัน โดยข้อเท็จจริง ต่อให้เราค้างค่าชำระบริการเบอร์ที่ 1 แต่เบอร์ที่ 2 เรายังชำระค่าบริการอยู่ เบอร์ที่ 2 ก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ, หรือบอกว่าจะไปแจ้งความด้วยตัวเอง แล้ววางสายได้เลย
3. แอบอ้างว่ามียอดค้างสินเชื่อหรือบัตรเครดิต
โดยมิจฉาชีพ จะโทรมาแจ้งว่าเรามียอดค้างชำระของสินเชื่อหรือบัตรเครดิต โดยให้เราชำระยอดค้างชำระดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะติดแบล็คลิส และส่งชื่อไปยังเครดิตบูโร ทำให้เราธุรกรรมทางการเงิน กับสถาบันการเงินอะไรไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งหากเรายืนยันว่าไม่เคยเปิดบัตร มิจฉาชีพก็จะแจ้งประสานงานให้เราแจ้งความอีกเช่นเคย
วิธีรับมือ : ให้เราแจ้งว่า เดี๋ยวจะโทรไปที่สถาบันการเงินแห่งนั้นด้วยตนเอง และหากมีความผิดปกติจริง จะดำเนินการแจ้งความด้วยตนเอง แล้ววางสายได้เลย
โดยทั้งหมดที่กล่าวมา “เราต้องมีสติ” เมื่อไหร่ก็ตามที่สายที่โทรเข้า มาในบทสนทนาประมาณที่ได้ยกตัวอย่าง ให้มั่นใจได้เลยว่า มิจฉาชีพแน่นอน เราสามารถวางสายได้ทันที
เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถรับสายที่โทรมาได้อย่างสบายใจ และไม่พลาดเรื่องที่อาจสำคัญ เช่นลูกค้ารายใหม่ที่ไม่เคยติดต่อกันมาก่อน หรือหน่วยงานที่เราไปติตต่อเอาไว้ การไม่รับสาย โดยที่ไม่ตรวจสอบจึงอาจพลาดเรื่องสำคัญไปเลยก็เป็นไปได้
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์ติดต่อ : 02-123-1700 หรือ 02-661-7720
Facebook : N.S.Network
Line : @nsnetwork.official
Website : www.nsnetwork.co.th
E-Mail : sales@nsnetwork.co.th
บทความที่น่าสนใจ
เช็ควิธีป้องกันการโดนหลอกจากมิจฉาชีพที่ใช้ AI
7 ความเสี่ยงในการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะที่คุณต้องระวัง
เตือน 5 ลิงก์อันตรายจากการกดลิงก์มิจฉาชีพ
รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ ในรูปแบบแก๊งค์ Call Center
-
Post 16/12/2024
ปัจจุบันมิจฉาชีพมีมากมายหลากหลายรูปแบบ ในบางครั้งผู้เสียหายอาจรู้ไม่เท่าทันกลโกงจนอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้นได้ หลายต่อหลายครั้งที่เรามักเลือกที่จะไม่รับสายเบอร์แปลกๆ หรือไม่คุ้นชิน หรือแม้กระทั้งตัดสายทิ้ง โดยความเข้าใจว่าเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งหากสายดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพก็ไม่เป็นอะไร แต่หากสายเหล่านั้นเป็นสายที่ติดต่อมาในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรา ก็ย่อมส่งผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้
บทความนี้ ทางเราจึงได้รวบรวมกลโกงมิจฉาชีพเบื้องต้นมาให้ดังต่อไปนี้
1. แอบอ้างว่ามีพัสดุตกหล่น หรือพัสดุตกค้าง หรือมีสิ่งของผิดกฎหมาย หรือหนังสือเดินทาง (Passport)
โดยมิจฉาชีพจะทำทีสอบถามว่าเราได้มีการส่งพัสดุไปที่นั่นที่นี่หรือไม่ ส่งไปให้นายคนนั้น คนนี้หรือไม่ แล้วนายคนนั้นได้ถูกจับหรือควบคุมตัวไว้แล้ว พร้อมทั้งบอกว่าพัสดุนั้นเป็นของผิดกฎหมาย และให้เราแสดงความบริสุทธิ์ใจ โดยให้เราแจ้งความออนไลน์ ทางมิจฉาชีพที่โทรมาจะประสานงานให้
วิธีรับมือ : ไม่ต้องถามอะไรมาก แต่ให้ถามว่าจะให้ไปแจ้งความที่ สน. หรือ สภอ. ไหน แค่นั้นแทน และบอกว่าสะดวกที่จะไปแจ้งความที่นั่น แล้ววางสาย เนื่องด้วยตามกระบวนการทางกฎหมายแล้วจะไม่มีการรับแจ้งความออนไลน์ หรือรับแจ้งความทางโทรศัพท์แต่อย่างใด
2. แอบอ้างว่ามียอดค่าโทรศัพท์ในเบอร์ที่เราไม่ได้เปิดบริการ
โดยมิจฉาชีพ จะสอบถามว่าเราได้มีการเปิดเบอร์มือถือในเบอร์นั้นเบอร์นี้หรือไม่ เพราะมียอดค้างที่ไม่ได้รับการชำระ โดยให้เราชำระค่าบริการในเบอร์ดังกล่าว หากเราปฏิเสธการชำระเงินก็จะบอกว่าเบอร์มือถือที่เราใช้งานอยู่อาจถูกระงับการใช้งานไปด้วย ขณะเดียวกันหากเรายืนยันว่าไม่ได้เปิดเบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพก็จะบอกให้เราแจ้งความโดยจะประสานงานให้เช่นเดิม
วิธีรับมือ : ปฏิเสธการชำระได้เลย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนระงับเบอร์ที่ใช้งานปัจจุบัน โดยข้อเท็จจริง ต่อให้เราค้างค่าชำระบริการเบอร์ที่ 1 แต่เบอร์ที่ 2 เรายังชำระค่าบริการอยู่ เบอร์ที่ 2 ก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ, หรือบอกว่าจะไปแจ้งความด้วยตัวเอง แล้ววางสายได้เลย
3. แอบอ้างว่ามียอดค้างสินเชื่อหรือบัตรเครดิต
โดยมิจฉาชีพ จะโทรมาแจ้งว่าเรามียอดค้างชำระของสินเชื่อหรือบัตรเครดิต โดยให้เราชำระยอดค้างชำระดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะติดแบล็คลิส และส่งชื่อไปยังเครดิตบูโร ทำให้เราธุรกรรมทางการเงิน กับสถาบันการเงินอะไรไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งหากเรายืนยันว่าไม่เคยเปิดบัตร มิจฉาชีพก็จะแจ้งประสานงานให้เราแจ้งความอีกเช่นเคย
วิธีรับมือ : ให้เราแจ้งว่า เดี๋ยวจะโทรไปที่สถาบันการเงินแห่งนั้นด้วยตนเอง และหากมีความผิดปกติจริง จะดำเนินการแจ้งความด้วยตนเอง แล้ววางสายได้เลย
โดยทั้งหมดที่กล่าวมา “เราต้องมีสติ” เมื่อไหร่ก็ตามที่สายที่โทรเข้า มาในบทสนทนาประมาณที่ได้ยกตัวอย่าง ให้มั่นใจได้เลยว่า มิจฉาชีพแน่นอน เราสามารถวางสายได้ทันที
เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถรับสายที่โทรมาได้อย่างสบายใจ และไม่พลาดเรื่องที่อาจสำคัญ เช่นลูกค้ารายใหม่ที่ไม่เคยติดต่อกันมาก่อน หรือหน่วยงานที่เราไปติตต่อเอาไว้ การไม่รับสาย โดยที่ไม่ตรวจสอบจึงอาจพลาดเรื่องสำคัญไปเลยก็เป็นไปได้
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์ติดต่อ : 02-123-1700 หรือ 02-661-7720
Facebook : N.S.Network
Line : @nsnetwork.official
Website : www.nsnetwork.co.th
E-Mail : sales@nsnetwork.co.th
บทความที่น่าสนใจ
เช็ควิธีป้องกันการโดนหลอกจากมิจฉาชีพที่ใช้ AI
7 ความเสี่ยงในการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะที่คุณต้องระวัง
เตือน 5 ลิงก์อันตรายจากการกดลิงก์มิจฉาชีพ