รู้ทันมุกมิจฉาชีพออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงินเพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอก 2567
-
Post 21/05/2024
รู้ทันมุกมิจฉาชีพออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงินเพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอก 2567
มิจฉาชีพพัฒนาระบบการหลอกอย่างต่อเนื่อง โลกออนไลน์นั้นเติบโตไว และทำให้เหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปรับกลลวงให้แยบยลยิ่งขึ้น บัญชีธนาคารที่เคยคิดว่าปลอดภัย อาจจะมีรอยต่อในการถูก “ดูดเงิน” โดยไม่รู้ตัว บทความนี้รวบรวม “กลโกงเด็ด” ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อม “เคล็ดลับป้องกัน” ฉบับอัปเดตปี 2567 ช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยในเบื้องต้น
พลิกมุกเดิม! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ได้แค่ “ดูดเงิน” อีกต่อไป เหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นพัฒนามุกหลอกเงินใหม่ๆอยู่เสมอ ดังนี้
1. แอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการ : แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ปอเต็กตึ๊ง หรือตำรวจ หลอกลวงว่าบัญชีของคุณผิดปกติ เหยื่อที่ตกใจ มักคล้อยตาม ให้ข้อมูลส่วนตัวโดยไม่รู้ตัว
2. แอบอ้างเป็นคนรู้จักใกล้ตัวเราเพื่อหลอกยืมเงิน : คือคนร้ายจะโทรศัพท์หาเป้าหมายแล้วทำทีพูดว่า “จำได้ไหมนี่ใคร” “จำเพื่อนได้รึเปล่า” หรือ “แค่ไม่สบายเสียงเปลี่ยน เปลี่ยนเบอร์โทรนิดหน่อย ก็จำกันไม่ได้แล้วหรือ” แล้วจะพยายามให้เหยื่อพูดชื่อมาก่อน ซึ่งหากเสียงของคนร้ายมีความคล้ายกับเสียงเพื่อนหรือคนรู้จักของเราจริงๆ แล้วเราพูดชื่อของคนนั้นออกไป คนร้ายก็จะสวมรอยเป็นคนนั้นทันที และ หลอกมาขอยืมเงินเพื่อให้เราเชื่อใจว่าเป็นคนใกล้ตัว
3. มิจฉาชีพขู่หรือหลอกให้กลัว : ใช้ความกลัวในการข่มขู่ เช่น อ้างว่ามีการฟ้องร้องหรือคดีความ ต้องรีบโอนเงินเพื่อแก้ปัญหา ทำให้เราเกิดความกลัวไม่อยากติดคดีจึงโดนหลอกเงินได้ง่าย แนะนำว่าอย่าโอนเงินทันที ให้หาข้อมูลและปรึกษาผู้รู้ก่อน
4. มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้าง : มิจฉาชีพโทรแจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง อ้างว่าต้องชำระค่าธรรมเนียมผ่านลิงก์ปลอมต่างๆ อย่ากดลิงก์เด็ดขาด! ติดต่อบริษัทขนส่งโดยตรงเพื่อหาความจริงของพัสดุก่อน ซึ่งสามารถอ่าน 5 ลิงก์อันตรายจากมิจฉาชีพได้ที่นี้
5. มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเป็น กสทช : คือ การที่มิจฉาชีพทำการโทรหาเบอร์โทรศัพท์ของเราโดยตรง แล้วแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ กสทช. ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพนี้หลอกว่ามีคนร้องเรียนว่าเบอร์โทรศัพท์ของเราสร้างปัญหาให้กับประชาชนหลายคน และจะถูกตัดสัญญาณภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งถ้าเราตอบรับ ก็จะถูกชักจูงไปสู่เส้นทางการโดนหลอกโอนเงินในท้ายที่สุด ซึ่งเราไม่ควรทำตามกรณีใดๆเลยของมิจฉาชีพ ให้ควรระวัง หรือ โทรถามเจ้าหน้าที่ กสทช.โดยตรง
6. มิจฉาชีพหลอกลงทุน : มิจฉาชีพสร้างแพลตฟอร์มปลอมเพื่อหลอกลวงในการลงทุน ให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มและหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก่อนตัดสินใจลงทุน
7. มิจฉาชีพหลอกเป็นตำรวจ : มิจฉาชีพในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่แอบอ้างเป็นตำรวจมีความซับซ้อนและมีเทคนิคหลอกลวงหลายแบบ เหยื่อมักได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมักจะแจ้งว่ามีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น พัวพันกับการฟอกเงินหรือเป็นหนี้บัตรเครดิต จากนั้นจะขอให้เหยื่อโอนเงินเพื่อ “แสดงความบริสุทธิ์ใจ” ยื่อบางรายอาจได้รับการติดต่อผ่านวิดีโอคอล โดยมิจฉาชีพจะแสดงตัวในเครื่องแบบตำรวจและสร้างบรรยากาศที่ดูเหมือนอยู่ในสถานีตำรวจเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
8. มิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินคืนเพราะโอนผิด : รูปแบบที่ค่อนข้างง่ายที่สุดของมิจฉาชีพ ที่ทำการแจ้งเราว่ามีการโอนเงินผิดไปใช่ไหม ให้ทำการโอนเงินคืน อาจเป็นการหลอกให้เราโอนเงินคืนฟรีทั้งที่ไม่มีการโอนผิด หรือเป็นการหลอกเอาข้อมูลธุรกรรมไปจากเรา
รับมือกลโกง แก๊งคอลเซ็นเตอร์เบื้องต้น
1. ตั้งสติ อย่าตกใจ! ถ้ามีสายโทรศัพท์แปลกปลอม อ้างเป็นหน่วยงานราชการ วางสายทันที! ติดต่อหน่วยงานนั้น ๆ เบอร์โทรอย่างเป็นทางการ
2. ข้อมูลส่วนตัว ปิดไว้ ไม่เปิดเผยทางโทรศัพท์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มักขอข้อมูลส่วนตัว เราควรปฏิเสธ!ทันที
3. เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ตรวจสอบให้ชัวร์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มักส่งลิงก์ปลอม อย่ากดเด็ดขาด! เข้าเว็บไซต์-แอปพลิเคชันของหน่วยงานนั้น ๆ โดยตรงแทน ไม่กดลิงก์ที่ถูกส่งมาผ่าน SMS ต่างๆ
4.รายงานเหตุการณ์ : แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากสงสัยว่าถูกหลอกลวง
5.วิธีการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพกับผู้ให้บริการทุกเครือข่าย :
– วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ DTAC สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านการติดต่อที่เบอร์ 1678
– วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS สามารถทำได้ด้วยการติดต่อที่เบอร์ 1185
– วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE สามารถทำได้ด้วยการติดต่อที่เบอร์ HOT LINE 9777
– วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ NT สามารถทำได้ด้วยการติดต่อที่เบอร์ 1888
สรุป รู้ทันกลโกง! ปลอดภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
บทความมุกมิจฉาชีพเหล่านี้ ช่วยให้คุณรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้อย่างรอบคอบ ปลอดภัยจากการสูญเสียทรัพย์สิน ไม่ให้โดนหลอกเงิน พึงระลึกไว้ว่า มิจฉาชีพมักสร้างสถานการณ์เร่งรีบ กดดัน ให้เหยื่อตัดสินใจผิดพลาด สำคัญที่สุดคือเราควรตั้งสติ คิด และ วิเคราะห์ เหตุการณ์ เราถึงจะปลอดภัยจากเหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อย่างแน่นอน!
“N.S.NETWORK”
ยินดีให้คำปรึกษาระบบการสื่อสารธุรกิจของคุณ
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์ติดต่อ : 02-123-1700 หรือ 02-661-7720
Facebook : N.S.Network
Line : @nsnetwork.official
Website : www.nsnetwork.co.th
E-Mail : sales@nsnetwork.co.th
บทความที่น่าสนใจ
รู้ทันมุกมิจฉาชีพออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงินเพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอก 2567
โอนเกิน 50,000 บาท ต้องยืนยันใบหน้า
( ไม่ใช้ยืนยันจากระบบโทรศัพท์)
สิ่งที่หลายคนไม่รู้! ความน่าเชื่อถือของบริษัทสร้างได้ด้วยเบอร์โทรศัพท์
เตือน 5 ลิงก์อันตรายจากการกดลิงก์มิจฉาชีพ
-
Post 20/05/2024
“เตือน 5 ลิงก์อันตราย จากการกดลิงก์มิจฉาชีพ”
ในยุคดิจิทัล การกดลิงค์ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมออนไลน์ที่พบบ่อย แต่รู้หรือไม่ว่า ลิงก์บางลิงก์อาจแฝงภัยมิจฉาชีพที่รอคอยเหยื่ออยู่มิจฉาชีพมักใช้วิธีการส่งลิงก์หลอกลวงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น SMS อีเมล ไลน์ เฟสบุ๊ค และอื่นๆ หรือแอบอ้างเป็นหน่วยงานน่าเชื่อถือ ธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ หรือเสนอโปรโมชันสุดคุ้มล่อใจเหยื่อหากเผลอกดลิงก์มิจฉาชีพ ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจร้ายแรง ดังนี้
5 ขั้นตอนการหลอกลวงที่มักพบ
1.ลิงก์ดูดเงิน คือ ลิงก์ที่หลอกให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน หรือติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อทำธุรกรรมถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหาย เช่น หลอกให้กรอกข้อมูลบัญชีเลขบัตรเครดิต, ข้อมูล OTP ,อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล
2.ลิงก์หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล คือ หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้เพื่อเปิดบัญชีธนาคารปลอม บัญชีม้า สมัครสินเชื่อออนไลน์ หรือทำธุรกรรมฉ้อโกงอื่น ๆ
3.ลิงก์หลอกลงทุน ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์หรือติดตั้งแอปพลิเคชันลงทุนปลอม หลอกล่อให้ผู้เสียหายลงทุนในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง โดยอ้างว่าลงทุนแล้วได้กำไรมาก ในระยะเวลาสั้นๆ หรือ เสนอโปรโมชันลงทุนสุดคุ้ม ผลตอบแทนสูง หลอกให้โอนเงิน แต่สุดท้ายไม่ได้เงินคืน สูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด
4.ลิงก์เว็บพนัน ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์การพนันออนไลน์ ซึ่งจะมีทั้งเว็บไซต์การพนันออนไลน์จริง ๆ และเว็บไซต์การพนันออนไลน์ปลอม หลอกให้สมัครสมาชิกเว็บพนัน โอนเงินเพื่อวางเดิมพัน แต่สุดท้ายถอนเงินไม่ได้ สูญเสียเงินทั้งหมด นอกจากจะเสียทรัพย์สินแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย
5.ลิงก์เงินกู้ปลอมหรือผิดกฎหมาย ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์หรือบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้โอนเงินค่าใช้จ่ายในการกู้เงินก่อน หรือ เสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หลอกให้โอนเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าประกัน แต่ไม่ได้รับเงินกู้จริงๆทุกกรณี
วิธีป้องกันตัวจากลิงก์มิจฉาชีพ
1. อย่าคลิกลิงก์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ : พิจารณาที่มาของลิงก์ก่อนตัดสินใจคลิก หากไม่แน่ใจ ให้ตรวจสอบเว็บไซต์อย่างละเอียดว่าถูกต้องหรือไม่
2.อย่ากรอกข้อมูลส่วนตัว : หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัวบนเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผ่าน บัตรเครดิต ข้อมูลธนาคาร
3.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส : ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและอัปเดตฐานข้อมูลอยู่เสมอ โปรแกรมเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันมัลแวร์ที่อาจแฝงมากับลิงก์มิจฉาชีพ
4.ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว : ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและบัญชีออนไลน์อื่นๆ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว
5.ตรวจสอบบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต : ตรวจสอบบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตเป็นประจำ หากพบธุรกรรมที่ไม่ทราบที่มา ให้ติดต่อธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตทันที
สรุป
การป้องกันตัวจากลิงก์มิจฉาชีพที่ดีที่สุด คือการไม่ประมาท จงใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบข้อมูล และไม่คลิกลิงก์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและไม่เสียทรัพย์สินให้กับแก๊งมิจฉาชีพ
“N.S.NETWORK”
ยินดีให้คำปรึกษาระบบการสื่อสารธุรกิจของคุณ
สามารถติดต่อขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทางธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์ติดต่อ : 02-661-7720
Facebook : nsnetworkTH
Line : @nsnetwork.official
Website : www.nsnetwork.co.th
E-Mail : sale@nsnetwork.co.th
บทความที่น่าสนใจ
รู้ทันมุกมิจฉาชีพออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงินเพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอก 2567
โอนเกิน 50,000 บาท ต้องยืนยันใบหน้า
( ไม่ใช้ยืนยันจากระบบโทรศัพท์)
สิ่งที่หลายคนไม่รู้! ความน่าเชื่อถือของบริษัทสร้างได้ด้วยเบอร์โทรศัพท์